หน่วยที่ 2
หลักการ แนวคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1
ทฤษฎีการเรียนรู้ ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม
ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3
ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication
) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ 1.
กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov)
กล่าวไว้ว่า
ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike)
ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ
อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law
of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness)
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญ
คือ
1.บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
2.ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้
3.บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
4.การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้บุคคลมีทัศนคติ
ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง สุรพงษ์ โสธนะเสถียร( 2539, หน้า 63-64) พบว่ามีปัจจัย 2
ประการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับการสื่อสารที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร (sender)
คือ
1.ภูมิหลังหรือปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันย่อมจะมองหรือจะยอมรับประเด็นในการสื่อสารแตกต่างกันไป
2.ภูมิหลังหรือปัจจัยส่วนบุคคล
ประกอบด้วย
2.1. ภูมิหลังของประชากร
(Demographics) เช่น อายุ เพศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นต้น
2.2. ภูมิหลังทางจิตวิทยา
(Psychographics) หรือ แบบแผนการดำเนินชีวิต (Life
Style)
2.3. ภูมิหลังในการเปิดรับสื่อทั้งนี้เนื่องมาจากนิสัยการเปิดรับสื่อที่ไม่เหมือนกันของแต่บุคคล
สามารถส่งผลต่อทัศนคติของบุคคล
กล่าวคือทำให้บุคคลมีความชื่นชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เหมือนกัน
แนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual differences theory) ได้นำมาเป็นตัวแปรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้บนพื้นฐานความคิดที่ว่า
เพศ อายุ รายได้ ที่แตกต่างทำให้การป้องกันตนเองของวัยรุ่นในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันนอกจากนี้กลุ่มทางสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการสื่อสาร
ซึ่งทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social categories theory)ได้กล่าวถึงแรงผลักดันที่ทำให้บุคคลหนึ่ง
ได้มีการใช้สื่อนั้น เกิดจากคุณสมบัติของบุคคลในด้านองค์ประกอบทางด้านสังคม
โดยอธิบายว่าบุคคลที่มีลักษณะทางสังคม สภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว
วัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะทางประชากร เช่น เชื้อชาติ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา รายได้
ฯลฯ จะมีพฤติกรรมการสื่อสารที่คล้ายคลึงกัน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
มุ่งสร้างปัญญา และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง
พึ่งพาตนเองได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น
อาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
-
กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorists)
-
กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
-
กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivists)
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์
(Behaviorists)
สกินเนอร์ (B. F. Skinner) เป็นผู้นำ ซึ่งได้ทำการศึกษาทดลองกับสัตว์ในเรื่องของพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(Stimulus-Response : S-R Theory) โดยถือว่า
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น
ทฤษฎีนี้จึงมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
และถือว่าพื้นฐานของการเรียนรู้ จะมี 3
ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อนสามารถจำแนกออกมาเรียนรู้เป็นส่วนย่อยได้
2. ผู้เรียนเรียนรู้จากการรับรู้และประสบการณ์
3. ความรู้คือ
การสะสมข้อเท็จจริง และทักษะต่างๆ
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จึงถือว่า
การเรียนรู้เป็นการรู้สาระเนื้อหา ข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎี การเรียนการสอน
จึงเน้นเรื่องการใช้ตำราเรียนและมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหา
และข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
ตามแนวคิดนี้การเรียนรู้จะมีลักษณะสำคัญ
4 ประการ คือ
1. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการเรียน
2. ผลป้อนกลับ (Feedback)
ต้องเกิดขึ้นทันที เช่น ครูต้องบอกว่าตอบถูกหรือผิด
3. แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้ต้องสั้นไม่ต่อเนื่องยืดยาว
4. การเรียนรู้
(การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ต้องมีการให้รางวัล และเสริมแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดปัญญานิยม (Cognitivists)
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล
ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อย ๆ
ทฤษฎีนี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ
มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
หลักการตามแนวคิดนี้คือที่มาของการเรียนการสอนแบบสืบหาความรู้ (Enquiry) ที่ถือว่าผู้เรียนไม่มีความรู้มาก่อน
ผู้เรียนจะเกิดความรู้ได้ต้องดำเนินการสืบหา (Enquire) จนได้ความรู้นั้นจุดเน้นของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของกลุ่มปัญญานิยมนี้
จึงต้องการ “ให้รู้ว่าจะได้รู้อย่างไร” มากกว่าการสอน “ให้รู้อะไร”
ในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์
การเรียนรู้ตามแนวคิดนี้จะให้ผู้เรียนดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และมีบทบาทโดยตรงในการเรียนรู้ (Active
Learning) โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตามขั้นตอนดังนี้
1. เกิดข้อสงสัย
คำถาม หรือเกิดปัญหาที่อยากรู้คำตอบ
2. ออกแบบวางแผนที่จะสำรวจตรวจสอบ
3. ดำเนินการเก็บข้อมูล
ทดลอง สำรวจ หาหลักฐานประจักษ์พยาน
4. วิเคราะห์ข้อมูล
สร้างคำอธิบายที่สอดคล้องกับข้อมูลหรือหลักฐาน
5. สรุปเป็นความรู้
ขยายและเผยแพร่ความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่นได้
แม้กระบวนการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวจะได้รับการยอบรับมาก แต่ในทางปฏิบัติ
กระบวนการบางส่วนยังขาดหายไป เป็นต้นว่า
ขั้นตอนแรกส่วนใหญ่ผู้เรียนไม่ได้เป็นผู้ตั้งปัญหาเอง ส่วนมากจะมีปัญหาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย
และในขั้นตอนที่ 4 และ 5 ส่วนมากครูผู้สอนหรือหนังสือเรียนจะอธิบายและสรุปไว้ให้
ผู้เรียนจึงมีโอกาสน้อยที่จะได้ฝึกปฏิบัติส่วนนี้
1. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษาพอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน
2. นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
ความหมาย e-Learning หมายถึง “การ เรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่
ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ“
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะ
กระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการWorld
Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ
ส่งข่าวสาร) ระหว่าง กัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน
ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ
อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
3. ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี
หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
(boonpan edt01.htm)
4. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
ก
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุ
อุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา
หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ
หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
5. หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย4 ทฤษฎี
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
1. ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.1ปรัชญาการศึกษากับเทคโนโลยีการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา คือ การแสวงหาความจริงว่า การศึกษาที่แท้
คืออะไร เรามีวิธีการเข้าถึงการศึกษาที่แท้ได้อย่างไร
และการศึกษาที่แท้จริงนั้นทำให้เกิดคุณค่าอะไรบ้าง ปัญหาอยู่ที่ว่า เราเชื่อว่าอะไร คือ
การศึกษาที่จริงแท้ของมนุษย์ เช่น ถ้าเราเชื่อว่า ผู้เรียนไม่มีความสามารถมาก่อน
การศึกษา คือ การทำให้ผู้เรียนมีความสามารถตามที่ผู้สอนต้องการ
ก็ต้องให้การอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน (Lat. educare =
to bring up) ครูเป็นผู้กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ เราเรียกว่า
ครูเป็นศูนย์กลาง (เช่น ปรัชญาจิตนิยม ประจักษ์นิยม)
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาการศึกษาหลายท่าน ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (2524: 109) กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมาย
ระบบความเชื่อหรือแนวความคิดที่แสดงออกมาในรูปของอุดมการณ์หรืออุดมคติทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในความหมายของปรัชญาชีวิตซึ่งหมายถึง
อุดมการณ์ของชีวิต อุดมคติของชีวิต แนวทางดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป
ปรัชญาการศึกษาคือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ทองปลิว ชมชื่น (2529:120) ปรัชญาการศึกษา คือ
เทคนิคการคิดที่จะแสวงหาคำตอบและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการศึกษาไม่ว่าการศึกษาในระบบโรงเรียนหรือการศึกษานอกโรงเรียน
เริ่มตั้งแต่การกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาและการบริหารทางการศึกษา
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างแท้จริง
1.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต้องมุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่
พัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มุ่งสร้างปัญญา
และคุณธรรมของชีวิตเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตเพื่อตนเอง พึ่งพาตนเองได้
สรุป
ปรัชญาการศึกษา คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2. จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในด้านการศึกษา
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น อาจสรุปได้เป็น 3
กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรม
หรือกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorists)
2. กลุ่มที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทำงานของจิตและสติปัญญา
หรือกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivists)
3.กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้
(Constructivists)
2.1ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ
ไม่ดี – ไม่เลว
การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus
response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม พุทธิปัญญา
ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความจริง (Truth) หรือความรู้มีอยู่จริงในโลกหรือในจักรวาล
ถ้าเราพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็จะพบไปเรื่อยๆ
ทฤษฎีนี้จึงถือว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการของจิตที่ต้องมีการรับรู้จากการกระทำ
มีการแปลความ ตีความ การให้เหตุผลจนเกิดรู้สำนึก และสะสมเป็นความรู้ในที่สุด
ทฤษฎี Constructivism
มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active)
และสร้างความรู้ ซึ่งจิตวิทยา Constructivists มีความเห็นในเรื่องการเรียนรู้หรือการสร้างความรู้แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม คอนสตรัคติวิสต์
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active
Knowing) ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า
บุคคลเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน
โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐานมากกว่า
โดยอาศัยแต่เพียงรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมหรือรับการสอนจากภายนอกเท่านั้น
และความขัดแย้งทางสติปัญญา (Cognitive Conflict) ที่เกิดจากการที่บุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้หรืออธิบายได้ด้วยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่
หรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Reflection)
ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restrucring) ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา ที่เป็นปัญหาหรือขจัดความขัดแย้งทางปัญญาได้
จุดมุ่งหมาย
เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นแต่เพียงเครื่องมือหรือตัวกลางที่ช่วยผ่อนแรงผ่อนระยะเวลาของครูและผู้เรียน
ให้ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก
แต่การที่ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น
ก็มิใช่อยู่ที่ลักษณะชนิดและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนแต่เพียงอย่างเดียว
ความจริงอยู่ที่ครูและผู้ใช้มีความสามารถในการเลือกและใช้เป็นส่วนใหญ่ด้วย
ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาจำนวนผู้เรียนลักษณะการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
รวมทั้งการวัดผลและประเมินผลด้วยข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นระบบการวางแผนการใช้สื่อเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า
ASSURE model ซึ่งมีขั้นตอน
ดังนี้
2.1 วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze learners)โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป
เช่น อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2
ลักษณะเฉพาะที่นำสู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี
และเนื้อหาและทักษะที่ต้องฝึกฝน
2.1.3
รูปแบบการเรียนรู้
ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ
ความสนใจความแตกต่างในการรับรู้
2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ
พฤติกรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)การกำหนดจุดมุ่งหมายควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเขาจะต้องทำอะไรบ้าง
จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอนทั่วไปแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย (Cognitive
domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective
domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย (Psychomotordomain)
หมายถึง
การเรียนจากการกระทำที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น
การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถการอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา เป็นต้น
4.วิธีระบบ
และการวิเคราะห์ระบบ
4.1ความหมายของระบบ
ความหมายของระบบ ระบบ คือ
ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง
ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นๆ
เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4
ประการ คือ
วิธีการระบบที่ดี
จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล
วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้
ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
4.2ลักษณะของระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่
โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา
อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
4. การวิเคราะห์ระบบ
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง
ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ
( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้
มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้
คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา
ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2
ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล
การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้
วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ
ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย
ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง
เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน
ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่
3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า
ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด
ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน
จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข
ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
4.4วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิธีระบบกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ที่ใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
วิธีระบบ ( System Approach) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน
( Input )
2. กระบวนการ
( Process)
3. ผลผลิต
( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ
( Feedback)
1.
สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่
ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน
วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2.
กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง
การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู
หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3.
ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง
ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น
4.
การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า
ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิธีระบบที่ดี
ต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่า
ข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบใดมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลหรือวัตถุดิบที่ไปใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
4.5วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษา
วิธีระบบกับเทคโนโลยีการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษา
คือการนำวิธีระบบเข้ามาใช้ โดยมีขั้นตอนกว้างๆ ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การวิเคราะห์และการทำความเข้าใจปัญหา,
วิเคราะห์ปัญหา
2. การเลือกหรือการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา,
เลือก, ออกแบบแนวทาง
3.การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา,
พัฒนา, วิธีการ
4.การทดสอบ
ประเมินและปรับปรุงวิธีการ, ทดสอบและประเมินผล
5.การนำไปใช้และการควบคุมกำกับ,
นำไปใช้, ควบคุม
หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์
อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication
) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ
และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
ทฤษฎีของกาเย่นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
(Recall Phase )
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
(Generalization Phase)
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน
( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี
และประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ
ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้
การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์
ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน
เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน
โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน
โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา
การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม
เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม
หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ความหมายความแตกต่างระหว่างบุคคล
มนุษย์เรามีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ต่างก็มีความต้องการ
มีความรู้สึก มีอารมณ์แต่ในขณะเดียวกันบุคคลแต่ละคนก็มีความแตกต่างจากคนอื่น
ๆ ได้หลายประการ เช่น มีรูปร่างต่างกัน มีสีของตา สีของผมต่างกัน บางคนมีความฉลาดบางคนโง่เขลาแม้แต่คู่แฝดยังมี
ความแตกต่างกัน เช่น แตกต่างกันในความคิดและอารมณ์ ฉะนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า
ไม่มีผู้ใดจะมีความเหมือนกันไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
มนุษย์ทุกคนในโลกนี้จึงมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันและความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่บุคคลควรเข้าใจและศึกษาเพื่อให้เข้าใจเพื่อนมนุษ
วิวัฒนาการของการศึกษาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีดังนี้
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเรื่องที่ได้มีการรับรู้มาเป็นเวลานับตั้งแต่ เพลโต้ ( Plato
) ( 427 – 347 ก่อนคริสต์ศักราช ) นักปรัชญาชาวกรีก ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ The Republic ว่าไม่มีบุคคลสองคนที่เกิดมาเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง ต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า ผู้ที่ได้ศึกษาเรื่องราวของความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์คือ เซอร์ ฟรานซิส กาลตัน (
Sir Francis Galton ) ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของกรรมพันธุ์ ได้สรุปว่า สติปัญญาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และกาลตันยังกล่าวไว้ว่า ลายมือของคนเรายังมีความแตกต่างกันอีกด้วยในศตวรรษที่ยี่สิบ นักจิตวิทยาชาวอเมริกันชื่อ เจมส์ แมคคีน แคทเทลล์ (
James Mckeen Cattall ) ผู้เคยศึกษาร่วมกับ วิลเฮล์ม วุ้นส์ (
Wilhelm Wundt ) เรื่องจิตสำนึกของบุคคลต่อภาพที่เร้าในทันทีทันใดแคทเทลล์ได้ให้ความสนใจในด้านการวัดความแตกต่างระหว่างบุคคลและได้ริเริ่มออกแบบทดสอบการปฏิบัติงาน (
Perfor Mance Test )
ในเรื่องการวัดความแตกต่างทางจิตวิทยาที่สำคัญนี้เป็นผลงานของนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อแอสเฟรด บิเน่ท์ ( Alferd binet
) ซึ่งได้สร้างแบบทดสอบสติปัญญาร่วมกับนายแพทย์ ธีโอดอร์ ไซมอน( Theodore simon ) ให้ชื่อว่าแบบทดสอบ บิเน่ท์ – ไซมอน ใน ค.ศ. 1905 แบบทดสอบชนิดนี้มี30 ข้อและเน้นด้านความเข้าใจ การหาเหตุผล และการใช้วิจารณญาณของเด็กเพราะ บิเน่ท์ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสติปัญญา บิเน่ท์ ใช้ทดสอบกับเด็กปกติจำนวน 50 คน อายุระหว่าง 3 – 11 ปี และเด็กปัญญาอ่อนจำนวนหนึ่ง เพื่อหาความสามารถเฉลี่ยของระดับอายุเด็กวิธีนี้เป็นการทดสอบสติปัญญาอย่างหยาบ
ๆ เพราะถือว่าเด็กคนใดทำข้อทดสอบได้มากข้อ ก็มีสติปัญญาสูง แต่จะสูงเท่าใดไม่สามารถทราบได้ ต่อมาใน ค.ศ. 1908 แบบทดสอบนี้ได้รับการปรับปรุงโดยจัเป็นชุด ๆ ตามอายุของเด็กระหว่าง 3
– 13 ปี และเพิ่มคำถามให้มากขึ้น คะแนนที่เด็กได้รับจะแสดงถึงระดับความสามารถของเด็ก เมื่อเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กที่มีอายุเท่า ๆ กันการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ครั้งที่สองกระทำใน ค.ศ. 1911 และใช้ได้กับเด็กอายุวัย 3 ปีไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ภายหลังได้มีผู้นำเอาแบบทดสอบของบิเน่ท์ไปปรับปรุงที่สำคัญคือ นักจิตวิทยาชื่อเทอร์แมน ( Termen ) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกาได้นำแบบทดสอบไปปรับปรุง และเรียกชื่อว่าแบบทดสอบสแตนฟอร์ด - บิเน่ท์ ใน ปี ค.ศ. 1916 จากแบบทดสอบนี้เทอร์แมน ได้นำอัตราส่วนของเชาว์ปัญญาหรือ IQ มาใช้เป็นครั้งแรก จากนั้นเทอร์แมนได้ร่วมมือกับเมอร์ริล ( Merrill ) ทำการดัดแปลงทดสอบซึ่ง ภายหลังบรรดาแบบทดสอบเชาว์ปัญญาส่วนใหญ่ได้พัมนามาจากแบบทดสอบที่เทอร์แมนและเมอร์ริลช่วยกันพัฒนามาจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้นำเอาเอกสารการทดสอบทางจิตวิทยามาใช้ประเมินความแตกต่าง ระหว่างบุคคลอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นในวงการทหารวงการศึกษาวงการธุรกิจ ศูนย์แนะแนวอาชีพ ศูนย์สุขภาพจิต และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในบทนี้มุ่งที่จะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านที่สำคัญสองด้านคือ บุคลิกภาพ และสติปัญญา เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์
สาเหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน
นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า
ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ถ้าความดีเลวเกิดจากพันธุกรรม
สิ่งที่ควรทำคือ ควรปรับปรุงชาติพันธุ์ของเราให้ดียิ่งๆ ขึ้น แต่ถ้ามนุษย์เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ควรปรับปรุงก็ได้แก่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราทำให้ดีขึ้นเหมือนกับชาวนาถ้าต้องการให้ผลิตผลบังเกิดขึ้นอย่างงอกงามก็ต้องอาศัยการดูแลรักษาที่ดินให้สมบูรณ์และรู้จักเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี พืชแม้จะมีสายพันธุ์ที่ดี ถ้าปลูกในดินไม่ดี
ดินไม่มีปุ๋ยพืชย่อมจะไม่ได้ผลผลิตดี ทำนองเดียวกันพื้นดินแม้จะดีเพียงใด ถ้าพืชพันธุ์ไม่ดี พืชพันธุ์อ่อนแอ พันธุ์พืชไม่สามารถทดต่อโรคและแมลง ก็ย่อมจะไม่ได้รับผลผลิตที่ดีเท่าที่ควร
ความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้เราเข้าใจเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้นและเข้าใจธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ดังนั้นจะให้บุคคลอื่นคิดอย่างที่เราคิดหรือทำอย่างที่เราทำไม่ได้
ทุกคนมีพันธุกรรมที่แตกต่างกันมีสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันได้รับประสบการณ์ต่างๆ
ที่เหมือนๆกันแต่ไม่ได้หมายความว่าบุคคลต้องตัดสินใจในเรื่องเดียวกันเหมือนกันทั้งก็มาจากความแตกต่างระหว่างบุคคล
ยอมรับความต่างของกันและกันเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ดีๆให้กันและกัน
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม (จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักขนา สริวัฒน์
2544 หน้า 22-23)
มนุษย์แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในหลายๆ
ด้าน ทั้งที่เป็นความแตกต่างภายนอก ได้แก่รูปร่าง
หน้าตา
สีผิว สีผม ฯลฯ และทั้งที่เป็นความแตกต่างภายใน ได้แก่
ความคิด เจตคติ ความต้องการ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างบุคคลดังกล่าวเป็นผลมาเนื่องจากสาเหตุที่สำคัญ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น หากต้องการจะเข้าใจบุคคลได้ดีจึงควรทำความเข้าใจในเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างถ่องแท้ด้วย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อบุคคลหลายด้าน อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางกาย จะเห็นได้จากสิ่งแวดล้อมที่แม่ได้รับขณะตั้งครรภ์
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา จะเห็นได้ว่าจากการจัดสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู
เป็นความจริงที่ว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อระดับสติปัญญา
แต่สิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลในการที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้สติปัญญาดีขึ้น
หรืออาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้สติปัญญาด้วยลงก็ได้
ตัวอย่างเช่น แดงกับจ้อยเป็นเด็กที่มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากัน
แต่พ่อแม่ของแดงส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้านการเรียนของแดงเป็นอย่างดี
เอาใจใส่ถามเรื่องการเรียนอยู่เสมอ เรื่องใดที่แดงยังไม่เข้าใจ
ถ้าพ่อแม่ช่วยอธิบายได้ ก็พยายามอย่างเต็มที่ ให้แดงไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ติดต่อถามเรื่องการเรียนและความประพฤติของแดงกับทางโรงเรียนอยู่เสมอ ส่วนจ้อยนั้น
พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่กับการเรียนของจ้อยเลย ไม่สนใจว่าจ้อยเรียนรู้เรื่องหรือไม่
อ่อนวิชาอะไร ไปโรงเรียนสม่ำเสมอหรือเข้ากับเพื่อที่โรงเรียนได้หรือไม่
เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนของแดงกับจ้อย ปรากฏว่าทั้งที่เด็กทั้งสองคน มี I.Q.
เท่ากัน แต่แดงเรียนดีกว่าจ้อย ที่เป็นเช่นนี้
เพราะแดงมีสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเสริมระดับสติปัญญาของแดงดีกว่าจ้อยนั่นเอง
นอกจากนี้ควรระวังเรื่องอุบัติเหตุด้วย
หากสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก อาจทำให้กลายเป็นคนปัญญาอ่อนได้
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางอารมณ์
เด็กสามารถมีพัฒนาการทางอารมณ์ต่างๆ ได้ตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งอายุได้ประมาณ 2 ขวบ ก็มีการเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ครบ
ส่วนจะมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน
เมื่อโตขึ้นนั้นสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ที่ได้รับ จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขัดเกลา
สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่ สภาพดินฟ้าอากาศ การศึกษาอบรม เป็นต้น
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะพอที่จะพูดได้ การเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ
จะมีอิทธิพลต่อการพูดและการใช้ภาษาของเด็ก เช่น อยู่ในสังคมไทย ภาษาที่เด็กจะพูดได้ก็คือภาษาไทย
อยู่ในท้องถิ่นภาคอีสาน ก็จะพูดภาษาถิ่นอีสาน อยู่ในกลุ่มผู้ใช้ถ้อยคำสุภาพ
เด็กจะพูดภาษาสุภาพด้วย การอธิบายหรือทำความเข้าใจความยากง่ายของความหมายของถ้อยคำ
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับเช่นเดียวกัน จะสังเกตได้ว่า คำคำหนึ่งเมื่อเป็นเด็กอาจไม่เข้าใจความหมายว่าหมายความว่าอย่างไร
ใช้อย่างไร แต่เมื่อมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น จะเข้าใจและใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม
อิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ
กิริยาท่าทาง คำพูด การแต่งกาย มารยาทในสังคม แนวคิด เจตคติ ในการดำรงชีวิต
ภาพรวมแห่งบุคลิกภาพเหล่านี้ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลอย่างมากในการหล่อหลอมขัดเกลา
2.1.6 ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า
ทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็เป็นปัจจัยร่วมกัน
ที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ
แต่หากจะถามว่าระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
อะไรสำคัญมากกว่ากันหรืออะไรมีอิทธิพลต่อบุคคลมากกว่ากัน
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตอบได้ยากเพราะทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างมีความสัมพันธ์กันและทำงานประสานกัน
ในบางกรณีเราอาจประเมินได้ว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลมาก เช่น ลักษณะทางกาย
แต่บางกรณีประเมินได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลค่อนข้างมาก เช่น การแสดงออกทางอารมณ์
แบบแผนการดำเนินชีวิต
เป็นต้น และในบางกรณีก็มีอิทธิพลพอๆ กัน
หรือเป็นเรื่องยากที่จะประเมินได้ว่าอะไรมีอิทธิพลมากกว่า
อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการกระทำร่วมกันของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและความเจริญงอกงามของบุคคล
พันธุกรรมเปรียบเสมือนทุนที่แต่ละบุคคลได้รับมา
ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเปรียบเสมือนเครื่องสนับสนุนหรือเครื่องกีดขวาง
แล้วแต่ชนิดของสิ่งแวดล้อมนั้นๆ
ในอันที่จะทำให้บุคคลมีพัฒนาการและพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป
ดังที่นักจิตวิทยาหลายท่านเชื่อกันว่า “พฤติกรรมของบุคคลนั้น
ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เพราะการเรียนรู้หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองก็ตาม
ย่อมเกิดขึ้นเพราะการแสดงปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม”
ตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้น
อาจดูได้จากวินาทีแรกของจุดเริ่มต้นแห่งชีวิตใหม่
จะพบว่าทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างมรประสิทธิผลเป็นตัวกำหนดความเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
กล่าวคือ ทารกจะมีลักษณะทางกาย ระดับสติปัญญา
อย่างไรย่อมเป็นไปตามลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับถ่ายทอดจากพ่อแม่ ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก่อนคลอดที่ทารกได้รับก็จะมีส่วนเป็นตัวกำหนดในลักษณะที่อาจจะเป็นสิ่งส่งเสริมหรือขัดขวางพัฒนาการตามพันธุกรรมก็ได้
เช่น ทั้งพ่อและแม่ต่างมีเชาว์ปัญญาสูงทั้งคู่ แนวโน้มความน่าจะเป็นของลูก
ก็ควรจะเป็นเด็กที่มีเชาว์ปัญญาดีเช่นกัน แต่ขณะตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก ได้ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน
ประกอบกับได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรงไม่สนใจบำรุงรักษาสุขภาพ
ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ปรากฏว่าเด็กคลอดออกมากลายเป็นเด็กพิการ ตาบอด ปัญญาอ่อน
ตัวเล็ก เจริญเติบโตช้า ในที่สุดก็เสียชีวิต
ประโยชน์ในการศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล
เราทราบแล้วว่า
มนุษย์มีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน
และมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันหลากหลายเหล่านี้ก็จำเป็นต้องอยู่รวมกันในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นการการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะจะช่วยให้เข้าใจเหตุผลแห่งพฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกต่อกัน
อันเป็นแนวทางในการปรับตนของบุคคลเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตามอัตภาพ
และร่วมกันใช้ความรู้ความสามารถที่แต่ละคนมีอยู่ต่างกันนั้น ในการะสร้างสรรค์ตนเอง
และสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้ามากที่สุดเท่าที่จะมากได้
Bigge และ Hunt ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคลว่า
จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของคน
ช่วยในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้แต่ละคนมีพัฒนาการและความเจริญงอกงามได้อย่างเต็มที่ตามระดับความสามรถให้ดำเนินไปได้ด้วยดี
ซึ่งนับว่าช่วยสามารถนำกำลังคน (Man Power) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องและเต็มที่
Gleun M. Blairคณะ
อธิบายว่า การศึกษาให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ
อาจกล่าวได้ว่า
การเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการตอบสนองพฤติกรรมและการฝึกอบรมหรือการปกครอง
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยมเนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้ การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยมเนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้ การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
สาเหตุความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกันไปจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงหรือเขตทะเลทราย
3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลักษณะงาน และการทำงาน จะทำให้มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นคนที่มีความคิดแบบตะวันตกนิยมใช้เทคโนโลยีจะแตกต่างกันกับการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรม
1. ความแตกต่างทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การกินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ย่อมทำให้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มจะมีลักษณะการกินอยู่ ประเพณี ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกันไปจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูงหรือเขตทะเลทราย
3. รูปแบบทางเศรษฐกิจ สภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ลักษณะงาน และการทำงาน จะทำให้มีความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันออกไปดังเช่นคนที่มีความคิดแบบตะวันตกนิยมใช้เทคโนโลยีจะแตกต่างกันกับการดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรม
หรือพึ่งพาธรรมชาติ
ความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์
- ความเชื่อหมายถึง ความไว้วางใจ ความมั่นใจ หรือความเห็นชอบ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและยินดีที่จะปฏิบัติ
- ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติ
- ความเชื่อหมายถึง ความไว้วางใจ ความมั่นใจ หรือความเห็นชอบ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดและยินดีที่จะปฏิบัติ
- ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมยึดถือและปฏิบัติ
ความเชื่อและค่านิยมที่นำไปสู่ความขัดแย้ง
- ความเชื่อในหลักศาสนา
- ความเชื่อในไสยศาสตร์
- ความเชื่อในหลักปรัชญา
- ความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง
ความเชื่อในสังคมไทย
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา และความเชื่อพื้นบ้าน ได้แก่
- ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
- ความเชื่อเรื่องการเกิด การตาย
- ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
- ความเชื่อเรื่องพิธีกรรม
- ความเชื่อเรื่องอาชีพ
- ความเชื่อในหลักศาสนา
- ความเชื่อในไสยศาสตร์
- ความเชื่อในหลักปรัชญา
- ความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง
ความเชื่อในสังคมไทย
สังคมไทยมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา และความเชื่อพื้นบ้าน ได้แก่
- ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
- ความเชื่อเรื่องการเกิด การตาย
- ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
- ความเชื่อเรื่องพิธีกรรม
- ความเชื่อเรื่องอาชีพ
สาเหตุของความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา
2) สภาพทางภูมิศาสตร์
3 ) รูปแบบทางเศรษฐกิจ
1) ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา
2) สภาพทางภูมิศาสตร์
3 ) รูปแบบทางเศรษฐกิจ
ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง
ๆ ในโลกปัจจุบันบริเวณวัฒนธรรมคือพื้นที่หนึ่ง ๆ
ซึ่งวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มี 3 ระดับดังต่อไปนี้
1) เขตวัฒนธรรมของโลก 2 เขตใหญ่ ได้แก่
1.1) วัฒนธรรมของโลกตะวันตก ยึดถือเหตุผลและความคิดของบุคคล เป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป และสหรัฐ
1.2) วัฒนธรรมของโลกตะวันออก ยึดถือประเพณี รักพวกด้อง เคารพผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมของจีนและอินเดีย
2) เขตวัฒนธรรมระดับประเทศ
3) เขตวัฒนธรรมระดังท้องถิ่น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม ในแต่ละเขตประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และ
เชื้อชาติ
1) เขตวัฒนธรรมของโลก 2 เขตใหญ่ ได้แก่
1.1) วัฒนธรรมของโลกตะวันตก ยึดถือเหตุผลและความคิดของบุคคล เป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป และสหรัฐ
1.2) วัฒนธรรมของโลกตะวันออก ยึดถือประเพณี รักพวกด้อง เคารพผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมของจีนและอินเดีย
2) เขตวัฒนธรรมระดับประเทศ
3) เขตวัฒนธรรมระดังท้องถิ่น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม ในแต่ละเขตประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และ
เชื้อชาติ
ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ปัญหาด้านค่านิยม
2) ปัญหาด้านศาสนา เช่น ชาวฮินดูและชาวซิกก์ในอินเดีย มุสลิมและคริสต์ในเลบานอน
3) ปัญหาด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหาความเชื่อของ ชาวยิวเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
4) ปัญหาด้านเชื้อชาติได้แก่การไม่ยอมรับความแตกต่างของเชื้อชาติหรือดูถูกเชื้อชาติอื่นเช่นในสหรัฐมีการสมาคมต่อต้านคนผิวดำ ที่เรียกว่า “สมาคมดูลักศ์แคลน” ในเยอรมันมีการตั้งขบวนการนาซีใหม่ (นีโอนาซี) เพื่อต่อต่านชาวผิดเหลืองในเยอรมัน สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย ระหว่างมุสลิม เซิร์บ และโครแอต และสงครามระหว่างชาวทมิฬ และสิงหล ในศรีลังกา เป็นต้น
แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1) การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่าง
2) การประสานความเข้าใจ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือส่งเสริมความเข้าใจอันดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ มีดังนี้
1) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง UN (UNESCO)
2) องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
3) กลุ่มประชาคมยุโรป
4) กลุ่มอาเซียน
การพัฒนาคุณภาพประชากร
- มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้ และเป็นอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เองคุณภาพของประชากร จะมีผลความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ปัญหาประชากรโลกที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่
- อัตราการเพิ่มประชากรที่ไม่เหมาะสม (เป้าหมายของ UN ต้องการให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากรโลกให้มีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์ (ประมาณร้อยละ 0.2) ซึ่งเยอรมันตะวันออกทำได้สำเร็จชาติแรกของโลก และญี่ปุ่นประเทศแรกในเอเชีย
ผลกระทบจากการเพิ่มประชากร
1) ปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภค
2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ
1) ปัญหาด้านค่านิยม
2) ปัญหาด้านศาสนา เช่น ชาวฮินดูและชาวซิกก์ในอินเดีย มุสลิมและคริสต์ในเลบานอน
3) ปัญหาด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหาความเชื่อของ ชาวยิวเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
4) ปัญหาด้านเชื้อชาติได้แก่การไม่ยอมรับความแตกต่างของเชื้อชาติหรือดูถูกเชื้อชาติอื่นเช่นในสหรัฐมีการสมาคมต่อต้านคนผิวดำ ที่เรียกว่า “สมาคมดูลักศ์แคลน” ในเยอรมันมีการตั้งขบวนการนาซีใหม่ (นีโอนาซี) เพื่อต่อต่านชาวผิดเหลืองในเยอรมัน สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย ระหว่างมุสลิม เซิร์บ และโครแอต และสงครามระหว่างชาวทมิฬ และสิงหล ในศรีลังกา เป็นต้น
แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1) การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่าง
2) การประสานความเข้าใจ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือส่งเสริมความเข้าใจอันดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ มีดังนี้
1) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง UN (UNESCO)
2) องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
3) กลุ่มประชาคมยุโรป
4) กลุ่มอาเซียน
การพัฒนาคุณภาพประชากร
- มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้ และเป็นอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เองคุณภาพของประชากร จะมีผลความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ปัญหาประชากรโลกที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่
- อัตราการเพิ่มประชากรที่ไม่เหมาะสม (เป้าหมายของ UN ต้องการให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากรโลกให้มีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์ (ประมาณร้อยละ 0.2) ซึ่งเยอรมันตะวันออกทำได้สำเร็จชาติแรกของโลก และญี่ปุ่นประเทศแรกในเอเชีย
ผลกระทบจากการเพิ่มประชากร
1) ปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภค
2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ
การพัฒนาคุณภาพของประชากรโลก
1) การพัฒนาด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก รับผิดชอบ
2) การพัฒนาด้านสาธารณสุขและอนามัย องค์การอนามัยโลก (WHO) รับผิดชอบ
3) การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน องค์การยูนิเซฟ (UNECEF) รับผิดชอบ
คุณภาพชีวิตของประชากร
หมายถึง “ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและทักษะองค์การยูเนสโก กำหนดว่าคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ประการ” ได้แก่
1) มาตรฐานการครองชีพ
2) พลวัตรของประชากร เกี่ยวกับโครงสร้างทางอายุ เพศ อัตราการเกิด อัตราการตาย
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
4) กระบวนการพัฒนา
1) การพัฒนาด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก รับผิดชอบ
2) การพัฒนาด้านสาธารณสุขและอนามัย องค์การอนามัยโลก (WHO) รับผิดชอบ
3) การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน องค์การยูนิเซฟ (UNECEF) รับผิดชอบ
คุณภาพชีวิตของประชากร
หมายถึง “ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและทักษะองค์การยูเนสโก กำหนดว่าคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ประการ” ได้แก่
1) มาตรฐานการครองชีพ
2) พลวัตรของประชากร เกี่ยวกับโครงสร้างทางอายุ เพศ อัตราการเกิด อัตราการตาย
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
4) กระบวนการพัฒนา
5) ทรัพยากร
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากรแนวคิดและหลักการทั่ว ๆ ไปของการพัฒนาคุณภาพประชากร คือการพัฒนาทั้งทางด้านทักษะ ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทำได้ดังต่อไปนี้
1) การให้การศึกษา
2) การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) การมีงานทำและมีรายได้
5) การลดจำนวนเพิ่มของประชากร
6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากรแนวคิดและหลักการทั่ว ๆ ไปของการพัฒนาคุณภาพประชากร คือการพัฒนาทั้งทางด้านทักษะ ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทำได้ดังต่อไปนี้
1) การให้การศึกษา
2) การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) การมีงานทำและมีรายได้
5) การลดจำนวนเพิ่มของประชากร
6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
นักจิตวิทยาและนักศึกษา จำแนกประเภทความแตกต่างระหว่างบุคคลไว้แตกต่างกัน อารี พันธ์มณี (2539) แบ่งประเภทของความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
2. ความแตกต่างทางด้านอารมณ์
3. ความแตกต่างทางด้านสังคม
4. ความแตกต่างทางด้านเพศ
5. ความแตกต่างทางด้านอายุ
6. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา
มาลินี จูฑะรพ (2539) กล่าวว่า โดยทั่วไปบุคคลจะมีความแตกต่างกันในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความถนัด ด้านความสนใจ ด้านเจตคติ ด้านแรงจูงใจทางสังคม ด้านค่านิยม ด้านรสนิยม ด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านการศึกษาอบรม ด้านการกระทำ ละด้านอายุ
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533) กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องต่อไปนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางเชาวน์ปัญญา
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางความคิดสร้างสรรค์
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางลีลาการรู้คิด (Cognitive styles)
4. ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ (Learning styles)
5. ความแตกต่างระหว่างเพศ
นักจิตวิทยาและนักศึกษา จำแนกประเภทความแตกต่างระหว่างบุคคลไว้แตกต่างกัน อารี พันธ์มณี (2539) แบ่งประเภทของความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
2. ความแตกต่างทางด้านอารมณ์
3. ความแตกต่างทางด้านสังคม
4. ความแตกต่างทางด้านเพศ
5. ความแตกต่างทางด้านอายุ
6. ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา
มาลินี จูฑะรพ (2539) กล่าวว่า โดยทั่วไปบุคคลจะมีความแตกต่างกันในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความถนัด ด้านความสนใจ ด้านเจตคติ ด้านแรงจูงใจทางสังคม ด้านค่านิยม ด้านรสนิยม ด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านการศึกษาอบรม ด้านการกระทำ ละด้านอายุ
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533) กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องต่อไปนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางเชาวน์ปัญญา
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางความคิดสร้างสรรค์
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลทางลีลาการรู้คิด (Cognitive styles)
4. ความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ (Learning styles)
5. ความแตกต่างระหว่างเพศ
ความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคลต่อการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามหลักสูตรต้องการ ทั้งพฤติกรรมด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาเองเต็มศักยภาพ แต่เราจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใดนั้นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งควรคำนึง คือ ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และด้านบุคลิกภาพอื่นๆ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวล้วนส่งผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งสิ้น ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะความแตกต่างที่สำคัญของผู้เรียนซึ่งมีผลต่อการจัดการเรียนการสอน คือ
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
1. เพศ ผู้ชายและผู้หญิงในความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ลักษณะความแตกต่างที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านความสามารถ เทอร์แมนและไทเลอร์ (Terman and Tyler, 1954) ศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีความสามารถด้านภาษา การเขียน และศิลปะมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แม็คโคบี และแจ็คคลิน (Macaoby and Jacklin, 1974) พบว่าผู้ชายมีความสามารถมากกว่าผู้หญิง ในด้านคณิตศาสตร์ การจำรูปทรง การคิดวิเคราะห์และการคิดริเริ่ม
คาสเซิล (Castle, 1913) พบว่าผู้หญิงมาความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่าผู้ชาย ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายมีอารมณ์มั่นคง มีความหนักแน่น มั่นใจตัวเอง มีนิสัยกล้าเสี่ยง ชอบความท้าทายและมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักมีอารมณ์อ่อนไหว มีความมั่นใจในตัวเองต่ำและมีแนวโน้มในการพึ่งพาและคล้อยตามผู้อื่นมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังมีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกันด้วย สำหรับ ด้านสติปัญญา จากการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย
2. อายุ ความแตกต่างด้านอายุหรือวัยของคนเรา มีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้ คือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความรอบรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิด ความมีเหตุผล และวุฒิภาวะด้านอื่นๆ รวมทั้งความสามารถทางสติปัญญา จากการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา นักจิตวิทยาให้ข้อสรุปสอดคล้องกันว่า ความสามารถทางสมองของคนเราจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 ปี และต่อจากนั้นอัตราพัฒนาการทางสมองจะเริ่มลดระดับลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
3. สุขภาพและลักษณะทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ ความพิการของร่างกาย ความผิดปกติในลักษณะต่างๆ ขนาดของร่างกาย ตลอดจนลักษณะเด่น- ด้อยของรูปร่างหน้าตา มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งในทางส่งเสริมและเป็นอุปสรรค์ ทั้งนี้รวมถึงความบกพร่องบางอย่างทางร่างกายด้วย เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น หรือการได้ยิน เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามหลักสูตรต้องการ ทั้งพฤติกรรมด้านความรู้ ด้านเจตคติ และด้านทักษะ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาเองเต็มศักยภาพ แต่เราจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้บรรลุวัตถุประสงค์เพียงใดนั้นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งควรคำนึง คือ ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และด้านบุคลิกภาพอื่นๆ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวล้วนส่งผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งสิ้น ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะความแตกต่างที่สำคัญของผู้เรียนซึ่งมีผลต่อการจัดการเรียนการสอน คือ
ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
1. เพศ ผู้ชายและผู้หญิงในความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ลักษณะความแตกต่างที่ส่งผลต่อการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านความสามารถ เทอร์แมนและไทเลอร์ (Terman and Tyler, 1954) ศึกษาพบว่า ผู้หญิงมีความสามารถด้านภาษา การเขียน และศิลปะมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แม็คโคบี และแจ็คคลิน (Macaoby and Jacklin, 1974) พบว่าผู้ชายมีความสามารถมากกว่าผู้หญิง ในด้านคณิตศาสตร์ การจำรูปทรง การคิดวิเคราะห์และการคิดริเริ่ม
คาสเซิล (Castle, 1913) พบว่าผู้หญิงมาความสามารถในการใช้ถ้อยคำได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่าผู้ชาย ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายมีอารมณ์มั่นคง มีความหนักแน่น มั่นใจตัวเอง มีนิสัยกล้าเสี่ยง ชอบความท้าทายและมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักมีอารมณ์อ่อนไหว มีความมั่นใจในตัวเองต่ำและมีแนวโน้มในการพึ่งพาและคล้อยตามผู้อื่นมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังมีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ไม่เหมือนกันด้วย สำหรับ ด้านสติปัญญา จากการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับสติปัญญาของผู้หญิงและผู้ชาย
2. อายุ ความแตกต่างด้านอายุหรือวัยของคนเรา มีส่วนเกี่ยวข้อง และก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้ คือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความรอบรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความคิด ความมีเหตุผล และวุฒิภาวะด้านอื่นๆ รวมทั้งความสามารถทางสติปัญญา จากการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญา นักจิตวิทยาให้ข้อสรุปสอดคล้องกันว่า ความสามารถทางสมองของคนเราจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 ปี และต่อจากนั้นอัตราพัฒนาการทางสมองจะเริ่มลดระดับลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
3. สุขภาพและลักษณะทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ ความพิการของร่างกาย ความผิดปกติในลักษณะต่างๆ ขนาดของร่างกาย ตลอดจนลักษณะเด่น- ด้อยของรูปร่างหน้าตา มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลทั้งในทางส่งเสริมและเป็นอุปสรรค์ ทั้งนี้รวมถึงความบกพร่องบางอย่างทางร่างกายด้วย เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น หรือการได้ยิน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น